พักผ่อนให้เพียงพอแล้วค่อยออกเที่ยว

จูลเล่ย์ (Julley) สวัสดีครับ!! หลังจากที่พักผ่อนกันจนเต็มที่แล้ว ก็ได้เวลาออกเที่ยวเมืองเลห์กันแล้ว ก่อนอื่นเตือนไว้หน่อยครับ ว่าถ้าจะมาเที่ยวเลห์ ห้าม “เกรียน” ต่อให้ฟิตแค่ไหน ที่ความสูง 3,500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล คุณไม่สามารถกระโดดโลดเต้นได้เหมือนอยู่บ้านแน่ๆ

ดังนั้นวันแรกที่มาถึงเมืองเลห์ คุณต้องดื่มน้ำเยอะๆ นอนเยอะๆ อย่าเพิ่งออกวิ่งหรือโชว์ฟิตนะครับ ฟังไกด์เยอะๆ ไม่งั้นเที่ยวไม่สนุกแน่นอน ไม่ดื้อนะ อีพร้ิงขอ… ^_^

knp_3903

วิวแบบนี้… เห็นแล้วว๊าว!!

เอาล่ะ!! หลังจากนอนจนอิ่มแล้ว ก็ได้เวลาเที่ยวแล้ว วันนี้ผมกับยัยหมวยฯ จะพาไปเที่ยวสถานที่น่าสนใจใกล้ตัวเมืองเลห์กันครับ ซึ่งจะเหมาะกับการเที่ยวแบบ One Day Trip คือเที่ยวจบได้ใน 1 วัน สามารถเลือกรูปแบบทัวร์พร้อมสอบถามราคาได้จาก Local Tour Agent หรือสอบถามที่โรงแรมที่เราพักได้ครับ

Tour แต่ละเจ้าอาจให้ราคาไม่เท่ากันนะ (แม้จะมีราคากลางอยู่) ลองเลือกเจ้าที่เราพอใจราคาครับ

ตะลุยเที่ยววัด-วังในตัวเมืองเลห์

แคว้นลาดักห์ได้รับอิทธิพลแทบทุกอย่างมาจากธิเบต (Tibet) ทั้งวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ศาสนา รูปแบบการปกครอง แต่ปัจจุบันมีการแบ่งแยกดินแดน ทำให้แคว้นลาดักห์และทิเบตถูกแยกออกจากกัน ทิเบตอยู่ในเขตแดนของประเทศจีน ส่วนแคว้นลาดักห์กลายเป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย นี่จึงเป็นสาเหตุที่เมืองเลห์และแคว้นลาดักห์ถูกขนานนามว่าเป็น Little Tibet การเริ่มต้นเที่ยวเมืองเลห์ให้สนุก ก็ควรจะเริ่มจากการไปเรียนรู้วัฒนธรรมและสถานที่สำคัญของเลห์ครับ

สำหรับสถานที่แนะนำนั้น ผมเรียงตามอำเภอใจนะครับ ภาพที่เอามาให้ดู เป็นภาพที่รวมจาก 2 ทริปนะครับ สภาพแสงอาจต่างกันบ้างนะ มาเริ่มจากที่แรกกันเลยครับ

Shanti Stupa

Shanti Stupa หรือเจดีย์สันติภาพ เป็นเจดีย์สีขาวทรงโดมตั้งอยู่บนเนินเขาใกล้หมู่บ้าน Changspa ในเมือง Leh ที่นี่ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพและเป็นการฉลองครบรอบ 2,500 ปี ของศาสนาพุทธ

Shanti Stupa งดงามท่ามกลางธงมนต์

_knp2276

ช่วงเวลาพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า สวยสุดๆ

ปี 1983 Gyomyo Nakamura พระภิกษุญี่ปุ่น และ Kushok Bakula พระลามะชาวเหล์ มีความตั้งใจจะนำพาเอาศาสนาพุทธกลับสู่อินเดียซึ่งเป็นดินแดนต้นกำเนิด ท่านจึงอาศัยแรงอาสาพร้อมเงินบริจาคจากคนในพื้นที่ รวมถึงเงินสนับสนุนบางส่วนจากนายกรัฐมนตรีอินเดียนาง Indira Gandhi (อินทิรา คานธี) มาสร้างเจดีย์นี้จนสำเร็จในปี 1991

25590811-20-01-56-_knp2062

เจดีย์กับแสงเย็น ปี 2559

knp_4067

เจดีย์กับแสงเย็น ปี 2557

นอกจากการได้มาบูชาพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าแล้ว การได้มายืนชมวิวแบบ Panorama จากด้านบนเจดีย์ ถือเป็นอีกหนึ่งไฮไลท์เลยครับ แสงยามเย็นของเมือง Changspa และวิวของ Namgyal Tsemo ท่ามกลางขุนเขาที่ทอดยาวสุดสายตานั้นงดงามจริงๆ

25590811-20-03-29-_knp3082

Namgyal Tsemo Monastery ถ่ายจาก Shanti Stupa

knp_4002

ค่ายทหารและหมู่บ้าน Changspa กับแสงเย็น

knp_4020

ภูเขาน้ำแข็งกับแสงเย็น สวยมากมาย

ทำไมต้องไป

  1. ไปอธิษฐานให้โลกสงบสุข โอ๊ว… นางงามอ่ะ!!
  2. นี่คือ Landmark สำคัญใจกลางเมืองเลห์ที่ใครเห็นก็รู้ว่าภาพนี้ถ่ายจากเมืองเลห์แน่นอน
  3. วิวเมืองเลห์ถ่ายจาก Shanti Stupa สวยนะ ยิ่งวิว Namgyal Tsemo Monastery ถ่ายจาก Shanti Stupa ยิ่งสวย
  4. มีร้านอาหารวิวดี๊ดีอยู่ที่นี่ ถ้าเบื่ออาหารเมืองเลห์ แวะไปกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปร้อนๆ ยี่ห้อแม๊กกี้ แก้เลี่ยนอาหารแขกได้ครัส อ้อ..!! ร้านนี้มีชาอร่อยๆ เยอะนะ เลือกดื่มชาแล้วชมวิวก็ฟินครับผม

คำแนะนำจากอีพริ้ง

  1. อย่าไปช่วงวันหยุดยาวของอินเดีย ไม่งั้นคงจะโดนแขกบังวิวนะนายจ๋า
  2. แสงเย็นที่นี่สวยนะ แสงเช้าก็สวยเช่นกัน (แต่จะตื่นไหวไหม)
  3. ถ้ามีแรงเหลือ ลองใช้ทางบันได เดินขึ้น Shanti Stupa สิ พวกเราลองแล้ว (แต่เดินลงนะ)
25590811-20-40-55-_knp2088-2

กว่าจะเดินลงไปถึงด้านล่าง ขาสั่นผับๆ

——————————————

Namgyal Tsemo Monastery

คำว่า Monastery ในภาษาทิเบตเรียกว่า Gompa (กอมปา) แปลว่า “สังฆาวาส” หรือ “พระอาราม” ใช้เรียกต่อท้ายศาสนสถาน ซึ่ง 1 Monastery อาจจะมีวัดมากกว่า 1 แห่งก็ได้ คำว่า “วัด – Temple” ในความหมายของคนทิเบต จะมีลักษณะเป็นอุโบสถเล็กๆ มีพระประทานอยู่ด้านใน ไม่ใช่วัดที่มีพื้นที่เยอะๆ เหมือนในบ้านเรานะครับ

25590811-20-33-38-_knp3111

มุมนี้ถ่ายมาจาก Shanti Stupa

ตามความเชื่อของศาสนาพุทธ การสร้างวัดนั้นเป็นการสร้างบุญขั้นสุด แสดงถึงบารมี พระมหากษัติรย์ในพุทธศาสนาจึงมักสร้างวัดไว้มากมาย เพื่อแสดงถึงความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา แคว้นลาดักห์ก็ได้รับอิทธิพลความเชื่อเช่นนี้มาเช่นกัน แต่ที่นี่นิยมสร้างวัดเอาไว้บนยอดเขาสูง ด้วยเชื่อว่าเป็นการยกให้พุทธศาสนาเป็นสิ่งบูชาสูงสุดนั่นเอง วัดส่วนใหญ่ที่นี่จึงสามารถมองเห็นได้ไกลจากที่ต่างๆ ทั่วเมือง

25590812-10-11-28-_knp3145

Namgyal Tsemo Monastery (อ่านว่านัมกัลหรือนัมจัล) ก็เป็นอีกหนึ่งวัดสำคัญ ที่เราสามารถมองเห็นได้จากหลายมุมในตัวเมืองเลห์ครับ ที่นี่ตั้งอยู่บนเทือกเขาสูงด้านหลัง Leh Palace สร้างขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 (ประมาณปี 1430) โดย King Tashi Namgyal

25590809-20-11-34-_knp1181-2-hdr-edit

วิวเมืองเลห์ยามเย็นจาก Namgyal Tsemo

25590809-20-26-01-_knp1273-2

25590809-18-29-32-_knp2213

สิ่งที่ไม่ควรพลาดเมื่อมาเที่ยวที่ Namgyal Tsemo Monastery คือการเข้าไปชมความงามของพระพุทธรูปทองแดง (แต่เคลือบทอง) ความสูงเท่าตึก 3 ชั้นของ Maitrieya Buddha (พระศรีอริยเมตไตรย) และภาพเขียนสีภายในอุโบสถที่สวยงาม มีเอกลักษณ์มากๆ ครับ

25590809-18-51-10-_knp1121-225590809-18-49-54-_knp1119-2

ทำไมต้องไป

  1. อยากถ่ายรูปคู่กับธงมนต์ ที่นี่สวยสุดครับ เส้นสายธงมนต์ที่นี่เป็นริ้วสวยงามมากๆ
  2. จากที่นี่สามารถมองเห็นยอดเขาน้ำแข็ง Zanskar Range ได้ชัดเจนมาก “นูบุ” ไกด์ของเราเป็นนักปีนภูเขาน้ำแข็ง ยืนชี้มือให้ผมดูด้วยแววตาเปี่ยมสุขเลยล่ะ
  3. ถ้าอยากถ่ายภาพ Shanti Stupa คู่กับเมืองเลห์ มุมนี้สวยที่สุดครับ โดยเฉพาะช่วงแสงเย็น ถ้าฟ้าสวยๆ จะเห็นพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า สวยสุดๆๆ
  4. พระพุทธรูปพระศรีอริยเมตไตรยกับภาพเขียนสีภายในอุโบสถโคตรสวย
25590811-20-32-34-_knp3110

ยอดเขาน้ำแข็ง Zanskar Range

25590809-20-22-25-_knp1237-2

งาน Selfie คู่ต้องมี

 

คำแนะนำจากอีพริ้ง

  1. มุมนี้เหมาะสำหรับถ่าย Shanti Stupa ยามเย็น ควรเตรียมเลนส์ Telephoto ที่มีระยะประมาณ 70-200 มม. ไปด้วย
  2. ถ้าอยากถ่าย Namgyal Tsemo สวยๆ ควรถ่ายจาก Shanti Stupa และควรถ่ายตอนแสงเช้า
  3. ช่วงบ่าย แดดที่นี่แรงมากนะ ถ้าจะมารอแสงเย็น ให้หลบไปนั่งรอในอุโบสถครับ
  4. ก่อนจะถ่ายภาพในอุโบสถ ให้ขออนุญาตจากลามะก่อน ไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพพระพุทธรูปจากด้านหน้าตรงนะครับ ถ่ายด้านข้างได้ครับ

knp_207725590809-18-13-22-_knp2128

——————————————

Shey Palace

พระราชวังเชย์ เป็นอดีตพระราชวังแห่งเมืองเลย์ในช่วงก่อนศตวรรษที่ 15 ที่ผ่านร้อน ฝน หนาว มากว่า 500 ปี ของกษัตริย์ผู้เคยยิ่งใหญ่ในอดีต สร้างโดย King Deldan Namgyal ราวปี 1650 โดยโปรดเกล้าให้สร้างสถูป Numgyal Chorten หรือสถูปแห่งชัยชนะ (Victory Stupa) ที่ด้านบนของสถูปสร้างด้วยทองคำบริสุทธิ์ ด้านในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปทองแดงที่สูงใหญ่ขนาดตึกสามชั้น

ต่อมาในปี 1834 กษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหมดได้ย้ายไปอยู่ที่พระราชวัง Stok Palace แทน

25570809-18-51-14-knp_3113

ทางขึ้น Shey Palace ชันนะครับ

25590807-11-40-01-_knp0858

25590807-11-16-27-_knp9532

พระพุทธรูปสูงเท่าตึก 3 ชั้น ใหญ่ที่สุดในลาดักห์

25590807-11-18-01-_knp9534

ภาพเขียนสีบนผนังที่เริ่มเสื่อมโทรมไปตามเวลา

พระราชวังแห่งนี้พื้นที่ครอบคลุมถึงพระราชวัง พระอาราม และผืนดินรอบๆ บนเนินเขา ทางตะวันออกของไฮเวย์สายเลห์-มะนาลี หรือราว 15 กิโลเมตรทางเหนือของตัวเมืองเลห์ การมาเที่ยวที่พระราชวังแห่งนี้เราจะพบกับทัศนียภาพสวยงามที่มองเห็นได้จากทั้งสองฝั่ง หากชอบถ่ายภาพที่นี่สามารถถ่ายได้ทั้งแสงเช้าและแสงเย็นครับ

25590807-10-45-17-_knp9485

วิวทุ่งด้านหน้านี้ห้ามพลาดนะ

25570809-18-31-00-knp_3105

ถ้ามีจังหวะ ลองลงไปในทุ่งหญ้าดูสิ

25590807-10-31-02-_knp064425590807-11-46-32-_knp0897

ทำไมต้องไป

  1. ไปเยี่ยมชมอดีตพระราชวังของเมืองเลห์ ไปดูพระพุทธรูปทองแดงที่ขนาดใหญ่ที่สุดในลาดักห์
  2. ไปถ่ายภาพลา ภาพวัว และภาพห่าน ที่อาศัยหากินอยู่ในทุ่งหญ้าเขียวขจีด้านหน้าพระราชวัง
  3. พาเพื่อนๆ ไปถ่ายรูปแนวฮิปๆ กัน
25590807-10-41-19-_knp0732

มาถึงนี่ ต้องพายัยหมวยมาถ่ายรูป

25590807-11-02-59-_knp0803

อีกมุมสวยที่ควรชวนเพื่อนมายืนถ่ายภาพ

25590807-10-24-52-_knp9459

แวะถ่ายภาพระหว่างทางขึ้นวัง ก็พักเหนื่อยได้นะ

คำแนะนำจากอีพริ้ง

  1. โปรแกรมท่องเที่ยวส่วนใหญ่มักจะพาเรามาชม Shey Palace ในวันแรกๆ ครับ ร่างกายเรายังไม่ปรับตัวกับที่สูง ทางเดินขึ้นพระราชวังแห่งนี้ชันนะครับ อย่ารีบเดินนักล่ะ ไม่งั้นมีหอบ หน้าซีดแน่นอน
  2. วิวทุ่งหญ้าแจ่มมาก ถ้าเป็นไปได้หาโอกาสลงไปถ่ายภาพนะ

 

25590807-11-15-15-_knp9528

คุณลุงผู้ดูแลพระราชวัง ขอถ่ายรูปได้นะครับ

——————————

Hemis Monastery

วัด Hemis (เฮมิส) ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองเลห์ไปทางทิศใต้ประมาณ 45 กม. วัด Hemis เป็นวัดที่สำคัญที่สุดด้านการศึกษาพระพุทธศาสนาในเลห์ ก่อตั้งโดยลามะชื่อ Stagsang Raspa Nawang ในปี 1630 ซึ่งลามะรูปนี้ได้รับเชิญจาก King Sengye Namgyal ให้มาเป็นผู้นำสงฆ์สูงสุดของเมืองเลห์ในสมัยนั้น

knp_1325

ลานกว้างกลางวัด

knp_1317

 

25590807-16-56-20-_knp990925570809-16-01-33-knp_1328

อีพริ้งเรียกวัดแห่งนี้ว่า “วัดลับแล” เนื่องจากตั้งอยู่ในหุบเขาลึก ซึ่งมองเห็นได้ยากจากภายนอก ทำให้วัดแห่งนี้มีสภาพสมบูรณ์ ไม่ถูกโจมตีจากข้าศึกในช่วงสงคราม เมื่อมาถึงเราจะพบกับวัดที่ได้รับการดูแลเป็นอย่างดี มีเหล่าลามะมาศึกษาธรรมะมากมาย ซึ่งเราสามารถขอถ่ายรูปกับลามะ หรือจะขอลามะมาเป็นแบบถ่ายภาพก็ได้บรรยากาศดีนะครับ

25590807-16-29-15-_knp9888

25590807-16-32-34-_knp1024

ฝนปรอยๆ ลามะน้อยก็ไม่กลัว

25590807-17-04-05-_knp1127

ลามะน้อยรูปนี้ยิ้มสวย ตาเศร้า น่าสนใจมาก

25590807-17-13-17-_knp1159

อย่าพลาดถ่ายภาพคู่ลามะนะครับ

สิ่งที่ไม่ควรพลาดเมื่อมาที่วัด Hemis คือการเข้าไปนมัสการพระพุทธรูปใหญ่ในอุโบสถวัด (ที่นี่มี 2 อุโบสถนะ) ด้านในจะมีภาพเขียนสีที่สวยงามและมีสภาพสมบูรณ์มากครับ การถ่ายภาพในอุโบสถวัดนั้นต้องขออนุญาตจากลามะที่ดูแลประจำวันก่อนนะครับ บางรูปก็อนุญาตให้ถ่าย (แล้วแต่ดวง)

แต่… งดใช้แฟลชในการถ่ายภาพนะครับ เพราะแสงจากแฟลชจะทำลายภาพเขียนครับ ร่วมด้วยช่วยกันนะจ๊ะ

25590807-16-52-49-_knp9900

โชคดีที่ลามะอนุญาตให้ถ่ายภาพ

25590807-16-51-23-_knp9898

ภาพเขียนสีอายุหลายร้อยปี สวยมาก

25590807-16-50-41-_knp9897

25590807-16-49-54-_knp9895

Sand Mandara ได้มาเห็นด้วยตาแล้ว สวยๆ

อีกหนึ่งไฮไลท์ที่ไม่ควรพลาด คือการเดินลงไปชมพิพิธภัณฑ์ของโบราณที่อยู่ชั้นใต้ดินครับ (ไม่เสียค่าเข้าชม) ภายในพิพิธภัณฑ์จะมีโบราณวัตถุสำคัญมากมาย อาทิ พระพุทธรูป หน้ากากโบราณ ข้าวของเครื่องใช้ เครื่องพุทธบูชา ที่แสดงถึงความโดดเด่นด้านงานศิลป์ของชาวลาดักห์ได้เป็นอย่างดี แต่… ภายในพิพิธภัณฑ์ห้ามถ่ายภาพนะครับ เราต้องนำกล้องถ่ายภาพ กระเป๋าและโทรศัพท์มือถือฝากไว้ในตู้ล๊อคเกอร์ก่อนจะเข้าไปครับ

ทำไมต้องไป

  1. ไปถ่ายภาพลามะ ยิ่งลามะน้อยยิ่งน่าร๊ากกกก..!!!
  2. ไปดู Sand Mandara ที่หาดูยากมากครับ ปกติเมื่อสร้าง Sand Mandara เสร็จแล้วเค้าจะลบทิ้งเลย แต่ที่นี่จะเก็บไว้ประมาณ 7-15 วัน
  3. ไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ของวัด ซึ่งโบราณวัตถุที่นั่นมีคุณค่าจริงๆ
  4. ร้านอาหารที่วัด Hemis รสชาติใช้ได้ครับ มีที่นี่นั่งกว้างขวาง ชมวิวได้เลย หากเรานำอาหารกลางวันมาจากโรงแรม ก็สามารถขอใช้พื้นที่ได้นะ อาจจะอุดหนุนเค้านิดหน่อย

คำแนะนำจากอีพริ้ง

  1. หากต้องการขอถ่ายภาพลามะน้อย ควรเข้าไปคุยอย่างสุภาพนะครับ อาจมีค่าตอบแทนบ้างตามมารยาท
  2. ภาพเขียนภายในอุโบสถสวยมากนะ สวยจริงๆ อย่าพลาด
  3. ควรตรวจสอบช่วงเวลาก่อนไป เพราะที่นี่มีเทศกาลระบำหน้ากากที่โด่งดังมาก
  4. บริเวณทางเข้าพิพิธภัณฑ์มีจุดจำหน่ายของที่ระลึกครับ สินค้าดีราคาไม่แพงเลย อาทิ แก้วน้ำ เสื้อกั๊ก ปฏิทิน หนังสือ ธงมนต์ และเครื่องลางของทิเบต เป็นต้น

——————————————

Thiksey Monatery

ได้รับฉายาว่า Mini Potala (โพทาลาน้อย) เนื่องจากผู้สร้างตั้งใจจำลองแบบมาจาก Potala Palace (พระราชวังโพทาลา) ที่ทิเบต วัดแห่งนี้เป็นหนึ่งในวัดที่สวยงามที่สุดในแคว้นลาดักห์ เป็นวัดสำคัญใน “นิกายหมวกเหลืองหรือนิกายเกลุกเปา” ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองเลห์ไปประมาณ 17 กม. ฝั่งเหนือของแม่น้ำสินธุ

มุมมหาชนบริเวณก่อนเข้าวัด

knp_1353

ถ่ายรูปนี้ไว้ตั้งแต่ 2557 ก็ยังชอบอยู่

Thiksey เป็นวัดสูง 12 ชั้น ประกอบด้วยอาคารฉาบด้วยสีแดงและขาวเรียงรายลดหลั่นตามเนินเขานับร้อยหลัง มีวัดย่อยๆ อยู่ภายในวัดใหญ่ถึง 10 วัด สร้างขึ้นครั้งแรกราวต้นศตวรรษที่ 14 โดยลามะชื่อ Sherab Zangpo แต่ต่อมาลามะ Pandal Sherab หลานของผู้ก่อตั้งได้ย้าย Thiksey Monastery มาอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบันในปี คศ. 1430 แทน

Thiksey มีวัดเล็กๆ อยู่ภายในอาณาบริเวณถึง 10 วัด

ที่นี่เป็นสถานที่เก็บรักษาพุทธศิลป์ที่มีความสำคัญและงดงามยิ่ง เช่น สถูป รูปปั้น ผ้าทังก้าที่เก่าแก่ของพุทธศาสนาวัชระยาน (ถูกม้วนเก็บไว้บูชาเป็นอย่างดี) รวมไปถึงจิตรกรรมฝาผนัง ดาบโบราณ ฯลฯ

งานจิตรกรรมสวย วิจิตรมาก

 

ทั้งสี ทั้งลาย ทั้งการจับคู่สี ชอบสุดๆ

โครงสร้างทำจากไม้ ดิน ซีเมนต์

ด้วยอายุหลายร้อยปีของวัดนี้ จึงมีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย ทั้งสถาปัตยกรรมและความงามทางศิลปะที่ยังคงหลงเหลือให้ผู้คนเข้ามาศึกษาและชื่นชมอยู่เสมอครับ

พระประทานภายในอุโบสถหลักครับ

ช่วงที่อีพริ้งไปเลห์นั้นเป็นช่วงที่องค์ทาไลลามะ ผู้นำทางจิตวิญญาณของทิเบตได้เสด็จมาสอนพระธรรมที่เมืองเลห์ด้วย จึงทำให้ทั้งเมืองดูกระตือรือล้น แถมช่วยกันประดับตกแต่งวัดวาอารามจนสวยเชียวครับ

25590807-12-24-28-_knp0933

ลามะกำลังตกแต่งพื้นด้วยลาดลายต่างๆ

25590807-12-26-48-_knp0943

25590807-12-10-12-_knp9584

ธงมนต์เก่าก็ได้รับการเปลี่ยนใหม่

knp_3002

ธงมนต์เก่าที่เคยถ่ายไว้เมื่อ 2 ปีก่อน

 

บริเวณปะรำพิธีที่ไว้ต้อนรับองค์ทาไลลามะ

 

เป็นครั้งแรกในชีวิตที่ได้เจอกับลามะหญิง

พวกเธอต่างมารอเฝ้าองค์ทาไลลามะ

ทำไมต้องมา

  1. นี่เป็นวัดที่สวยสุดในเลห์แล้วครับ ไม่มาวัดนี้เสียดายแย่
  2. สถาปัตยกรรมและจิตรกรรมฝาผนังพุทธศิลป์แบบทิเบตของที่นี่สวยและสมบูรณ์มากครับ
  3. สำหรับคุณผู้ชาย… ห้องน้ำวัดนี้วิวดีสุดๆ ฉี่ไปดูวิวไปฟินอ่ะ
  4. สำหรับคุณผู้หญิง ห้องน้ำที่นี่สะอาดปลอดภัย ไร้สิ่งกวนใจ
  5. หอสวดมนต์ของวัดนี้ใหญ่ สงบ ถ้ามีโอกาสต้องมาฟังพระทิเบตที่นี่สวดมนต์กันครับ
  6. วิวที่นี่ก็เจ๋งไม่แพ้วัดอื่นนะ

คำแนะนำจากอีพริ้ง

  1. หากคุณคือคนที่ชอบสโลว์ไลฟ์ คุณจะใช้เวลาที่นี่ได้ทั้งวัน
  2. โปสการ์ดที่ร้านขายของที่ระลึก สวยกว่าที่อื่น
  3. อยากเที่ยวให้อิ่ม ต้องมีเวลาสัก 1 วันเต็มๆ

——————————————

Stok Palace

ถ้าอยากสัมผัสว่าราชวงศ์ลาดักห์ใช้ชีวิตอยู่แบบไหน ต้องมาที่นี่ครับ Stok Palace คือ พระราชวังที่สุดท้ายของราชวงศ์ลาดักห์ ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองเลห์ไปทางทิศใต้ประมาณ 15 กม. สร้างขึ้นตั้งแต่ปี 1825 โดย King Tsespal Tondup Namgyal แห่งราชวงศ์ Namgyal ทรงมีพระราชดำริให้ช่างฝีมือในแคว้นลาดักห์เป็นผู้สร้าง

25570809-13-53-08-knp_1302

25570809-13-33-39-knp_1294

บริเวณโถงภายในพระราชวัง

สถาปัตยกรรมที่พระราชวังแห่งนี้งดงามมาก มีการผสมผสานเอกลักษณ์ท้องถิ่นเข้ากับศิลปะร่วมสมัยได้อย่างลงตัว ในห้องหนังสือของวังได้เก็บพระคัมภีร์กันจู (Kangyur) หรือพระไตรปิฎกซึ่งรวบรวมพระวจนะของพระพุทธเจ้าเอาไว้ มีทั้งสิ้น 108 เล่ม

25570809-13-21-12-knp_2715

25570809-13-48-03-knp_1299

 

นอกจากนี้ในพิพิธภัณฑ์ของพระราชวังยังได้รวบรวมเสื้อผ้า พระราชมงกุฎและข้าวของเครื่องใช้ของราชวงศ์มาจัดแสดงให้นักท่องเที่ยวได้ชมอีกด้วย (ในพิพิธภัณฑ์ห้ามถ่ายภาพนะครับ)

ปัจจุบัน Stok Palace ยังคงมีเชื้อพระวงศ์เดินทางมาพักผ่อนในช่วงฤดูร้อน รวมถึงยังเปิดปรับเปลี่ยนบางส่วนของพระราชวังให้เป็นโรงแรมระดับ luxury อีกด้วย ใครสนใจอยากเข้าพัก พร้อมสัมผัสบรรยากาศราชวงศ์ลาดักห์ ลองเข้าไปดูได้ที่นี่นะครับ http://www.stokpalaceheritage.com/index.html

ทำไมต้องมา

  1. เราอาจคิดว่าวัด-วังในเมืองเลห์นั้นล้าหลัง แต่ความจริงไม่ใช่เลย เค้าอนุรักษ์ไว้ต่างหาก ลองมาสัมผัสที่นี่ดูสิ
  2. พิพิธภัณฑ์ของพระราชวัง ได้จำลองรูปแบบการใช้ชีวิตของราชวงศ์ลักดห์เอาไว้ ควรค่าแก่การศึกษา
  3. วิวครับวิว วิวจากระเบียงวังนี่มันสุดยอดเลยครับ
  4. แวะมาดื่ม Masala Tea ของที่นี่ครับ อร่อย แถมมีไอศครีมให้กินด้วยนะ
25590807-19-15-32-_knp0015

วิวจากระเบียงพระราชวัง

25590807-18-40-34-_knp1267

มานั่งดื่มชาตรงนี้ฟินมากนะ

25570809-13-52-40-knp_2767

คำแนะนำจากอีพริ้ง

  1. ไม่ไกลนักจากตัวพระราชวัง จะมีพระพุทธรูปสีทองประดิษฐานอยู่บนเนินเขา ถ้ามีเวลาลองแวะไปครับ สวยมาก แถมยังถ่ายภาพพระราชวังได้จากมุมนั้นด้วยนะ
  2. โปรดเข้าชมพิพิธภัณฑ์ด้วยความสงบครับ อย่าทำลายข้าวของ
25590807-18-37-53-_knp9984

พระพุทธรูปสีทองบนเนินเขา เสียดายที่ฟ้าปิด

25570809-13-26-31-knp_2740

ภาพนี้ถ่ายปี 2557 ถ้าฟ้าเปิดจะสวยมากครับ

——————————————

เป็นยังไงกันบ้างครับกับรวมวัด-วังในตัวเมืองเลห์ ส่วนที่ผมรวบรวมมาเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งนะครับ ยังมีวัดและวังที่น่าสนใจในตัวเมืองเลห์อีกหลายแห่งที่น่าไปเยี่ยมชม “เที่ยวเลห์ ครั้งเดียวคงไม่พอจริงๆ”

ผมคิดว่าน่าจะเป็นไอเดียให้เพื่อนๆ ได้นะครับว่าโปรแกรมเที่ยววันแรกในตัวเมืองเลห์ ควรจะไปเที่ยวไหนกันบ้าง ติดตามรีวิวท่องเที่ยว “Leh- Ladakh ครั้งเดียวคงไม่พอ” ตอนต่อไปเร็วๆ นี้ครับผม

อ่านรีวิวตอนแรก ว่าด้วยเรื่องการเตรียมตัว การเดินทาง การรับมือกับอาการแพ้ที่สูง และเรื่องราวเกี่ยวกับตลาดเมืองเลห์ (Leh Main Bazaar) ได้ที่นี่ครับ Leh – Ladakh ครั้งเดียวคงไม่พอ (ตอน 1)

ตอนต่อไปจะพาไปเที่ยว “ทะเลสาปปันกองและพาไปขี่อูฐหนอกคู่ที่นูบร้าวัลเล่ย์” รอชมๆ

——————————————

“เพราะการเดินทางทำให้โลกใบเดิมของเรากว้างขึ้น” ประโยคนี้ทำให้ผมและแฟนจับมือกันออกเดินทางไปเรียนรู้โลกกว้าง จนเป็นที่มาของเพจ “หนีงานไปเที่ยว” และ Blog ที่ชื่อ www.ibreak2travel.com อ่านมาถึงบรรทัดนี้เราอยากบอกว่า… 

ย้อนกลับไปหลายปีก่อนตอนรู้จักกันใหม่ๆ “อีพริ้ง คือ นักท่องเที่ยวที่ต้องทำงานประจำ ส่วนยัยหมวยติ๊ดตี่ คือ คนทำงานประจำที่อยากเที่ยวบ้าง” เราต่างกันเหลือเกิน แต่เมื่อมาคบกัน 2 ความต่างก็หาจุดลงตัวจนทำให้เรามาถึงจุดที่อยากทำเพจพาเพื่อนๆ คนทำงานไปเที่ยวกับพวกเราบ้าง ถ้าเราไปได้ ใครๆ ก็ไปแบบเราได้แน่นอน

เราขอฝากร้านด้วยนะ แวะไปกด Like เพจกันหน่อย (อย่าลืมตั้งค่าเป็น See First หรือ “เห็นก่อน”) จะได้รู้ว่าพวกเรายังมีคุณๆ อยู่เสมอ

www.facebook.com/ibreak2travel/

——————————————

25590810-20-31-50-_knp2703