
” ไอซ์แลนด์ “ ดินแดนน้ำแข็งสำหรับคนรักธรรมชาติ ชอบถ่ายรูป และแลนด์สเคปสวยๆ
จะฟินน์แค่ไหนที่จะได้เห็นแสงเหนือเต้นระบำ ท่ามกลางหิมะเย็นสุดขั้ว



ไอซ์แลนด์อยู่ที่ไหน?
ตั้งอยู่บนเกาะในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ระหว่างกรีนแลนด์ นอร์เวย์ และสหราชอาณาจักร อยู่ไม่ไกลจากเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล มี “เรคยาวิก (Reykjavik)” เป็นเมืองหลวงที่ตั้งอยู่ใกล้กับขั้วโลกเหนือมากที่สุด ไอซ์แลนด์มีประชากรประมาณ 350,000 กว่าคน มีพื้นที่ประเทศรวม 102,775 ตารางกิโลเมตร ถือว่าสัดส่วนของประชากรมีน้อยมาก มีขนาดเล็กกว่าประเทศไทยเกือบ 5 เท่า พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นที่สูงมากกว่า 1 ใน 3 ของประเทศสูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 600 เมตร แบ่งเป็น 62% ของพื้นที่ประเทศเป็นที่รกร้าง, มีเพียง 23% ที่พืชเจริญเติบโตได้ และอีก 11% เป็นธารน้ำแข็ง

ประเทศไอซ์แลนด์มีอุตสาหกรรมที่ส่งออกอยู่ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. การทำประมง : ทะเลมีความอุดมสมบูรณ์มาก จึงสามารถทำให้มีการส่งออกปลาถือเป็น 34% ของมูลค่าการส่งออก
2. ธุรกิจพลังงาน : เนื่องจากเป็นประเทศที่มีน้ำล้อมรอบ และมีภูเขาไฟมากกว่า 130 แห่ง จึงสามารถทำให้ผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ และความร้อนใต้พิภพ จึงทำให้มีพลังงานกระแสไฟฟ้าใช้ได้อย่างเหลือเฟือ
3. ธุรกิจอะลูมิเนียม เนื่องจากประชากรน้อย พลังงานไฟฟ้ามีเกินเหลือใช้จึงทำให้เกิดอุตสาหกรรมนี้ขึ้นมา
อ้างอิงข้อมูลจาก : ลงทุนแมน






รีวิวที่เกี่ยวข้อง
25 พิกัด + แผนเที่ยวรอบเกาะไอซ์แลนด์ (ฤดูหนาว)
การขอวีซ่าท่องเที่ยวไอซ์แลนด์ (อัพเดท มี.ค.2562)
10 ข้อควรรู้ จะไปเที่ยวโคเปนเฮเกน ต้องทำยังไง!?
11 พิกัดเที่ยวสนุก ในเมืองแห่งความสุข โคเปนเฮเกน
1. เที่ยว “ไอซ์แลนด์” ขอวีซ่าที่ไหน ?
จงจำให้ขึ้นใจ!! ประเทศไอซ์แลนด์ไม่มีสถานทูตประจำในประเทศไทย ถ้าไป “ไอซ์แลนด์” ต้องยื่นขอวีซ่าผ่าน “ประเทศเดนมาร์ก” เท่านั้น โดยมี VFS เป็นศูนย์รับเรื่องการในยื่นเอกสาร อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ การขอวีซ่าท่องเที่ยวไอซ์แลนด์ (อัพเดท มี.ค.2562)
2. การเดินทางไปไอซ์แลนด์
เนื่องจากไม่มีสายการบินใดที่มีบริการเที่ยวบินตรงไปลงที่ไอซ์แลนด์เลย เราจึงต้องเลือกแวะเปลี่ยนเครื่องบินที่เมืองใดเมืองหนึ่งของประเทศยุโรปก่อนบินไป Reykjavik ประเทศไอซ์แลนด์ ดังนั้นในหัวเรา 2 คนเลยคิดถึงเมืองเมืองเล็กๆ น่ารักๆ อย่าง “Copenhagen (โคเปนเฮเกน) ประเทศเดนมาร์ก” เราเลยหยุดแวะเที่ยว 2 วันก่อนบินต่อไปล่าแสงเหนือที่ไอซ์แลนด์


เริ่มแรกเราจองตั๋วจาก “Buy Now“ เป็นบริษัทตัวแทนจำหน่ายตั๋วเครื่องบินของสายการบินไอซ์แลนด์ (Icelandair) บริษัทนี้เปิดมาดำเนินการมาแล้ว 20 ปี มีความน่าเชื่อถือ และสามารถโทรสอบถามกับพนักงานโดยตรงได้เลย ถือว่าให้บริการแบบ One-stop-service มาที่เดียวจบครบวงจร คือ เราจะได้ตั๋วเครื่องบินทั้ง Thai Airways และ Icelandair หมวยว่าสะดวก ประหยัดเวลา เหมาะกับคนทำงานแบบเรามากๆ ค่ะ
- ตารางเที่ยวบินขาไป
• กรุงเทพ (BKK) – โคเปนเฮเกน (CPH) โดย Thai Airways (TG950) บินตรงใช้เวลา 11.45 ชม. เสิร์ฟอาหาร 2 มื้อ
• แวะเที่ยว Copenhagen ก่อน 3 วัน 2 คืน
• โคเปนเฮเกน (CPH) – เรคยาวิก (KEF) โดย Icelandair (FI 205) บินตรงใช้เวลา 3.15 ชม. - ตารางเที่ยวบินขากลับ
• เรคยาวิก (KEF) – โคเปนเฮเกน (CPH) โดย Icelandair (FI216) บินตรงใช้เวลา 3.10 ชม.
• โคเปนเฮเกน (CPH) – กรุงเทพ (BKK) โดย Thai Airways (TG951) บินตรงใช้เวลา 10.35 ชม. ถึง กทม. 6 โมงเช้าไปทำงานต่อได้เลย
เมืองหลวงของไอซ์แลนด์ คือ “เรคยาวิก” มีสนามบิน 2 แห่ง คือ สนามบินนานาชาติ Keflavik International Airport (KEF) ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองเรคยาวิกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 50 กิโลเมตร และสนามบินภายในประเทศ Reykjavik Domestic Airport (RKV)





Tip :
- ก่อนวันเดินทางแนะนำให้ทำ Web Check-in ของทั้ง 2 สายการบินให้เรียบร้อย
- สายการบิน Icelandair ค่อนข้างเน้นย้ำเรื่องการ carry on baggage จำนวนท่านละ 2 ใบเท่านั้นค่ะ (ห้ามเกินเด็ดขาดจ้า)
- แนะนำให้ทำ “Web check-in” ล่วงหน้าแล้วนำ QR Code มาโชว์ที่หน้าเคาน์เตอร์ ไม่ต้องปริ้นท์เอกสารให้วุ่นวาย ถือว่า Check-in เร็วมาก มีเคาน์เตอร์เยอะค่ะ
ข้อมูลเพิ่มเติมของบริษัท BUY NOW ในการซื้อตั๋วเครื่องบิน
เวลา : วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.30 – 17.30 น.
โทร : 02-653-2050- 4
E-mail: icelandair@buynoww.com
Line: @buynoww
Facebook Page : ICELANDAIR Bangkok
Website : https://www.buynoww.com/
3. เที่ยวไอซ์แลนด์… ช่วงไหนดีหล่ะ?
สภาพอากาศที่ไอซ์แลนด์จะเปลี่ยนแปลงบ่อย รวดเร็วมาก คาดการณ์ไม่ค่อยได้ว่าใน 1 วันจะเจอะอะไรบ้าง เช่น เช้าฝนตก บ่ายครึ้มๆ แล้วหิมะก็ตกหนัก หรือวันไหนเช้าแดดออก อยู่ดีๆฟ้าก็ครื้มแล้วหิมะก็ตกทันที ดังนั้นควรเตรียมพร้อมเรื่องของเสื้อผ้า อุปกรณ์กันหนาว และสติในการขับรถค่ะ
รู้ไว้ไม่พลาด!! การล่าแสงเหนือ หรือ Aurora ที่ไอซ์แลนด์จะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น
- แสงเหนือจะเห็นได้เฉพาะเวลากลางคืน และชัดในฤดูหนาว เนื่องจากไม่มีแสงสว่างจากดวงอาทิตย์มากวน แต่ฤดูหนาวอากาศก็เปลี่ยนแปลงเร็ว จึงต้องคอยเช็คสภาพอากาศบ่อยๆ ค่ะ
- บริเวณที่เราเห็นแสงเหนือนั้น ช่วงกลางคืนฟ้าต้องไม่มีเมฆปกคลุม ไม่มีฝนตก ไม่มีหิมะ ยิ่งห่างจากตัวเมือง และไม่มีแสงรบกวนเท่าไหร่ยิ่งดี (ง่ายๆ คือ ยิ่งมืดยิ่งดี)
- ระดับค่าวัดความเข้มข้นของแสงเหนือ (KP index) เรียกย่อๆ ว่า “ค่า KP” ซึ่งเราจะวัดค่า KP ตามระดับความเข้นข้นของแสง Aurora ซึ่งจะเริ่มค่า KP ตั้งแต่ระดับ 0-9 (0-1 คือ ไม่มีโอกาสเห็นเลย และ 9 คือแสงเข้มข้นมากที่สุด) ต้องให้ค่า KP นี้สูงตั้งแต่ระดับ KP3 ขึ้นไปจึงสามารถมองเห็น ซึ่งยิ่งค่า KP สูงมากขึ้นก็ยิ่งเห็นชัดขึ้น แต่ต้องมาพร้อมกับปัจจัยที่ท้องฟ้าเปิดโล่ง ปริมาณเมฆบนท้องฟ้าน้อยๆ ด้วยนะคะ โดยเราต้องคอย “ตรวจสอบพยากรณ์แสงเหนือ” บ่อยๆ
- ยิ่งบริเวณนั้นมีสีเขียวเข้มในพื้นที่เยอะๆ แปลว่าเมฆยิ่งเยอะ โดยเราดูการพยากรณ์อากาศเป็นรายชั่วโมงได้ ซึ่งถ้าภายใน 1-3 ชั่วโมงก่อนล่วงหน้า ถือว่าค่อนข้างแม่นยำมากค่ะ
ทริปนี้หมวยโชคดีมากๆ ได้เห็นแสงเหนือ 2 ระดับความเข้ม คือ
- ระดับ KP 3 เห็นแสงเหนือด้วยตาเปล่าเหมือนแถบสีเทาๆ กำลังเคลื่อนไหวอยู่บนท้องฟ้าเท่านั้น กรณีนี้ต้องถ่ายด้วยกล้อง DSLR พร้อมขาตั้งนะคะ
- ระดับ KP 5 เนี่ยเป็นอะไรที่น่าตื่นเต้นมากๆ หมวยเห็นแสงเหนือทั้งสีม่วง สีเหลือง สีน้ำเงินเต้นระบำไปทั่วท้องฟ้า กรี๊ดดังลั่น!! ประทับใจสุดๆ เลยค่ะ กรณีนี้ถ่ายด้วยมือถือก็เห็นแสงเหนือแล้วค่ะ

จริงๆ ไอซ์แลนด์เที่ยวได้ตลอด มี 4 ฤดู แต่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่นิยมเที่ยว 2 ฤดูคือ
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ พย. – มีค. อุณหภูมิอยู่ในช่วง -5 ถึง 5 °C กลางคืนยาว ช่วงเดือน กพ.-มีค. และ กย. – ตค. จะเหมาะกับการล่าแสงเหนือ แต่ก็ไม่ง่ายที่จะเห็นได้อย่างชัดๆ เพราะจะขึ้นอยู่กับโชค ความโปร่งของท้องฟ้า เมฆ สภาพอากาศ และปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์มากเพียงพอ
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ มิย. – สค. ถือว่าเป็นช่วง High season กลางวันยาว อุณหภูมิประมาณ 10-15 °C เดือน กค. จะร้อนที่สุดอุณหภูมิอยู่ที่ 11 °C จะเป็นช่วงที่จะเห็นพระอาทิตย์เที่ยงคืนซึ่งมักจะเกิดทางตอนเหนือของไอซ์แลนด์ เพราะอยู่ห่างจากจุด Arctic Circle เพียงไม่กี่กิโลเมตร

Credit : https://www.holiday-weather.com/reykjavik/averages/
Tip : ไอซ์แลนด์ไม่มีฤดูฝน แต่เดือนกันยายน และมีนาคมจะเป็นเดือนที่ฝนตกบ่อยที่สุด
มาเตรียมความพร้อมก่อนไปตะลุยไอซ์แลนด์ !
- สภาพอากาศในแต่ละวันค่อนข้างแปรปรวน
- บางวันอากาศหนาวเย็น ลมแรงในช่วงเช้ามืด, เย็น และดึก
- บางวันกลางวันมีแดดร้อน
- บางวันฝนตกหนัก ลมแรง ค่อนข้างหนาว หรือบางวันฟ้าครึ้มสลับฝนตกปรอยๆ
คำแนะนำ :
1. เตรียมอุปกรณ์กันหนาว กันลม และกันฝน
ปูเป้ชอบพก ร่มขนาดเล็ก BGG Umbrella ติดกระเป๋าไปด้วยค่ะ แบรนด์นี้พกพาสะดวก กันฝน, กันแดด, กัน UV 100% น้ำหนักเบา มีแบบให้เลือกเยอะ เช่น บางรุ่นขนาดเล็กหนาเพียง 2 ซม. หรือมีน้ำหนักเบาพิเศษ 99 กรัม เองค่ะ เป็นแบรนด์ไต้หวัน สินค้ามีคุณภาพดี และมีชื่อเสียงในการผลิตร่มแบบ OEM ให้กับแบรนด์ร่มของญี่ปุ่น, เกาหลี, ยุโรป และอื่นๆ

– หมวกไหมพรมบางๆ ทรง Baret
หมวกรุ่นนี้เป็นอีกหนึ่งไอเท็มที่ปูเป้ชอบมากกกก หมวกไหมพรมบางทรง Baret ช่วยเพิ่มความชิคๆ เพิ่มความสนุกในการแต่งตัว และเป็นพร็อบที่ช่วยทำให้ถ่ายรูปออกมาเก๋ขึ้น ดูคอมพลีตลุคส์มากขึ้น จะแมทช์หมวกกับกางเกงก็ดี กระโปรงก็ได้ หรือจะใส่กับชุดเดรสก็ดูมีความเกานิดๆ คาวาอี้หน่อยๆ น่าร๊ากก!! ยิ่งในวันที่ขี้เกียจสระผมช่วงออกทริปต่างประเทศ หมวกช่วยคุณได้ค่ะ 555
2. ครีมกันแดดทาผิวหน้า
ยังไง UV ก็เป็นอันตราย ทำผิวเหี่ยว ฝ้าแดด ผิวคล้ำ!! ท่องไว้ๆๆ ปูเป้เลยต้องมีตัวช่วยไอเท็มนี้พกตลอดค่ะ การันตีว่าเด็ดจริงๆ ก่อนออกแดดอย่าลืมทา ครีมกันแดดทาผิวหน้า ปูเป้ชอบ SUNPLAY SKIN AQUA สูตรหลอดสีฟ้า-ชมพู ใช้มานาน ใช้จริงจนหลอดบี้ (ดูรูปก็รู้) จุดเด่นของครีมกันแดดผิวหน้า ชอบที่เนื้อครีมบางเบา เกลี่ยง่าย ซึมเร็ว, ช่วยแล้วปรับสีผิวให้สว่างขึ้น, มีไฮยารูลอน และวิตามิน C สูตรอ่อนโยน เหมาะสำหรับผิวแพ้ง่าย, เนื้อครีมสีลาเวนเดอร์ ทำให้ผิวกระจ่างใส ดูเลือดฝาด หลังทาไม่เป็นขุย ครีมซึมเข้าไปกับหน้า ผ่านการทดสอบการระคายเคือง ไม่มีมิเนอรัลออย และพาราเบน จนถึงวันนี้ปูเป้ใช้มาเกิน 10 หลอดแล้ว ดีเกิ๊นนนน!! ใช้ได้นาน คุ้มค่าเกินราคาค่ะ
3. น้ำตบ Premium Lotion และแผ่นมาส์กหน้า
ขั้นตอนแรกของการบำรุงก่อนนอนเพื่อเติมน้ำให้ผิวหน้า โดยส่วนตัวปูเป้ชอบน้ำตบ Hada Labo สูตรสีทอง Premium Lotion เป็นสูตรใหม่เข้มข้นพิเศษจากญี่ปุ่น มีเนื้อเจลเข้มข้นที่สุดในน้ำตบ 5 สี และจะมี Hyaluronic Acid มากถึง 5 ชนิดที่ช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นผิวได้มากขึ้นเป็น 2 เท่า และเติมความชุ่มชื้นทุกระดับของผิวชั้นนอกให้ยาวนานมากขึ้น
4. ครีมกันแดดผิวกาย
ก่อนออกแดด : อย่าลืมทา ครีมกันแดดผิวกาย ปูเป้ชอบโลชั่นกันแดด Nivea Sun (นีเวีย) เนื้อน้ำนม มี SPF50 PA+++ ปกป้องผิวจากรังสี UVA UVB ทุกวัน, สูตรกันน้ำ ไม่หลุดง่าย ทาแล้วออกแดดได้เลย ไม่ต้องรอถึง 20 นาที, ทาแล้วออกแดดได้เลย สบายผิว ไม่เหนียว เหนอะหนะผิว, ปกป้องคอลลาเจนจากการถูกแดดทำร้าย ช่วยเรื่องผิวคล้ำเสีย หรือแลดูแก่ก่อนวัย
5. อโรเวล่าเจล (Aloe Vera Gel)
หลังผิวถูกแดด : ปูเป้ชอบ เจลว่านหางจระเข้บริสุทธิ์ (Aloe Vera gel) ของ Banana Boat ตัวนี้ดีมาก!! ส่วนผสมมีทั้งว่านหางจระเข้ ช่วยลดอาการแสบร้อนผิวไหม้แดด และมีวิตามินอีช่วยบำรุงผิวเนียนนุ่ม เพิ่มความชุ่มชื้น และเติมน้ำให้ผิว ทาแล้วสบายผิว ไม่เหนียวเหนอะหนะ ผิวไหม้ๆ เกรียมๆ ก็รอดมาได้เพราะตัวนี้เลย เห็นหลอดเล็กๆ แบบนี้ใช้ได้นานมากกก คุ้มสุดๆ ค่ะ
4. การเดินทางในประเทศ เรื่องใหญ่นะเฟ้ย!!
ทริปนี้หมวยไปกันหลายคน แพลนเที่ยวรอบเกาะไอซ์แลนด์ เลยเช่ารถขับกันเองสะดวกสุดๆ แถมมีเวลานั่งเสพย์วิวตอนทานอาหารกลางวันกับวิวอลังการทั้งภูเขาน้ำแข็ง ภูเขาสวยๆ น้ำตก ทะเลสาบ ทุ่งหญ้า น้องม้า น้องแกะตลอดทาง
ทริปนี้หมวยเช่ารถจาก Blue Car Rental เป็นบริษัทท้องถิ่นของไอซ์แลนด์ค่ะ โดยเราจะขับรถย้อนเข็มนาฬิกา คือ ขับลงใต้ วนขึ้นตะวันออก ขึ้นเหนือ แล้วมาจบที่เมือง Reykjavik เพื่อแช่ Blue Lagoon ก่อนกลับบ้านค่ะ
- รถที่เลือกเป็นแบบ 4WD ของ BMW X1 เกียร์ออโต้
- นั่งได้ 4 คน มี 5 ประตู ท้ายรถใส่กระเป๋าเดินทางขนาด 28″-30″ ได้ 3 ใบ
- กรณีระบุชื่อคนขับ 1 คน ราคาค่าเช่ารถ 12 วันตลอดทริป รวมซื้อประกันภัย Full Coverage ทุกสิ่งอย่างประมาณ 54,000 บาท ราคาค่าน้ำมันประมาณ 9,000 บาท สรุปตกค่าเช่ารวมค่าน้ำมันตกวันละ 5,250 บาท ถ้าเทียบกับสมรรถภาพรถ หมวยว่าคุ้มมากค่ะ
- กรณีระบุชื่อคนขับ 2 คน ราคาค่าเช่ารถจะสูงขึ้นประมาณ 2,500 บาท/คัน


ดังนั้นมาเตรียมเอกสารทำ “ใบขับขี่สากล” กันก่อนค่ะ (ใบขับขี่สากลจะมีอายุการใช้งาน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ออกบัตร)
- พาสปอร์ตตัวจริง และสำเนา 1 ใบ
- ใบขับขี่ตัวจริง และสำเนา 1 ใบ
- บัตรประจำตัวประชาชน และสำเนา 1 ใบ
- รูปถ่าย 2 นิ้ว 2 ใบ ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน ฉากสีขาวหรือสีฟ้า (หน้าตรง ไม่สวมหมวก หรือแว่นตาสีเข้ม)
- ค่าธรรมเนียม 505 บาท/คน
- กรณีที่ไม่สะดวกไปทำใบขับขี่ด้วยตัวเอง สามารถให้คนอื่นไปจัดการแทนโดยเตรียมเอกสารเพิ่ม 3 อย่าง คือ สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับ-ผู้มอบอำนาจ พร้อมเซ็นต์รับรองสำเนาถูกต้อง และใบมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท
ข้อมูลเพิ่มเติม
ติดต่อ : กรมการขนส่งทางบก
เปิด : วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 ถึง 15.30 น.
Tip : แนะนำว่าอย่าไปยื่นเรื่องวันจันทร์ เพราะคนจะเยอะ ปูเป้ไปวันพฤหัสช่วงบ่าย 2 ใช้เวลาครึ่งชม. ก็เสร็จแล้วค่ะ
กรณีที่ไม่ได้เช่ารถขับเที่ยวไอซ์แลนด์
กรณีที่ไม่ได้เช่ารถขับเที่ยวไอซ์แลนด์ก็สามารถล่าแสงเหนือออกเดินทางจาก Reykjavik ได้ครับ โดยจะมีบริการ ทัวร์ล่าแสงเหนือโดยรถบัสแบบคลาสสิก โดยทีมนักล่าแสงเหนือฝีมือดี และไกด์ผู้มีประสบการณ์ที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้จะพาเรานั่งรถบัสเที่ยว ระยะเวลาทัวร์ประมาณ 3-4 ชั่วโมง ซึ่งจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ในโปรแกรมจะพาไปชมพิพิธภัณฑ์ออโรราในเรคยาวิก พร้อมเสิร์ฟเครื่องดื่มโกโก้ร้อนๆ ให้ร่างกายอบอุ่นๆ จากนั้นพาไปชมความมหัศจรรย์ของแสงเหนือเต้นระบำบนท้องฟ้าแบบจุใจ
สนใจ ทัวร์ล่าแสงเหนือโดยรถบัสแบบคลาสสิก ในราคาพิเศษ คลิกที่นี่
กรณีต้องการไป ชมแสงเหนือแบบส่วนตัวกรุ๊ปเล็ก แนะนำ ทัวร์ชมแสงเหนือแบบพรีเมียม พาเที่ยวโดยไกด์ผู้มีประสบการณ์การล่าแสงเหนือที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษ และมีพาเข้าชมนิทรรศการแสงเหนือ Aurora Reykjavik ชอบที่มีการบริการรับส่งไป-กลับฟรีจากสถานที่ที่เลือกในใจกลาง Reykjavic ด้วยครับ
สนใจ ทัวร์ชมแสงเหนือแบบพรีเมียม ในราคาพิเศษ คลิกที่นี่


ข้อควรรู้การขับรถที่ไอซ์แลนด์
- เมื่อออกจากสนามบินก็สามารถติดต่อบริษัทเช่ารถที่สนามบินนานาชาติ Keflavik International Airport (KEF) ได้เลย
- การขับรถที่ไอซ์แลนด์ง่ายมาก แค่เปิด Google Map ก็หาได้ทุกอย่างทั้งปั๊มน้ำมัน ซุปเปอร์มาร์เก็ต สถานที่ท่องเที่ยว และที่พัก ซึ่งหมวยแนะนำอีก 2 เว็ปไซต์ให้เปิดดูควบคู่กัน คือ ตรวจสอบสภาพเส้นถนน และ ตรวจสอบสภาพอากาศและคำเตือน ซึ่งจะมีการอัพเดทการเตือนถนนเส้นที่ปิด ถนนที่อันตรายจากหิมะถล่ม หรือภูเขาไฟ
- ให้เช่ารถแบบขับเคลื่อน 4 ล้อเพื่อใช้กำลังของเครื่องยนต์ และเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่กับสภาวะต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น
- การขับรถจะเป็นพวงมาลัยซ้าย ชิดขวา ต้องเปิดไฟหน้า ตรวจสอบลมยางให้ดี
- น้ำมันดีเซล ราคาลิตรละประมาณ 50 บาท สามารถเติมน้ำมันเองได้ที่ N1, Olís & ÓB, Costco มีทั้งแบบเป็นปั้มน้ำมันพร้อมมี Minimart และแบบ Stand Alone เป็นตู้หัวจ่ายน้ำมัน ชำระเงินได้ทั้งบัตรเติมเงิน (Prepaid Gas Card) และบัตรเครดิต (แผนที่ Gas Station ในไอซ์แลนด์)
- จงขับรถช้าๆ เมื่อหิมะตก ลมพัดแรง ถนนจะยิ่งลื่นมาก และบางทีจะมองไม่เห็นถนนด้านหน้า น้ำแข็งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
- ไม่มีด่านเก็บเงินค่าทางด่วนเหมือนบ้านเรานะ ดังนั้นพอออกจากทางด่วนแล้วรีบให้ชำระเงินออนไลน์ผ่านบัตรเครดิต ดังนั้นก่อนเข้าทางด่วนควรสังเกตป้ายด้านหน้าให้ดีๆ เช่น ตอนที่เราขับเข้าอุโมงค์ Vaðlaheiði tunnel ไปเมือง Akureyri หลังจากที่ผ่านแล้วถ้าชำระเงินภายใน 3 ชั่วโมง จะเสียค่าทางด่วน 1,500 ISK (ประมาณ 400 บาท) แต่ถ้าเกิน 3 ชั่วโมงจะเสียค่าทางด่วน 2,500 ISK
- ขับในเมืองให้ลดความเร็วตามป้ายจราจรประมาณ 80 กม./ชม. จะมีกล้องตรวจจับความเร็ว มีวางอยู่ในหลายๆจุด และค่าปรับก็แพงมาก พอออกนอกเมือง Reykjavik ก็ขับได้เร็วขึ้นประมาณ 90 กม./ชม. เป็นถนน 2 เลน รถไม่ค่อยมีวิ่ง ตั้งโหมด Cruise control ขับได้ยาวๆ เลยค่ะ
- เมื่อเปิดประตูรถควรประคองประตูด้วย เพราะลมที่นี่พัดแรงสุดๆ อาจทำให้ประตูรถเสียหาย ซึ่งไม่รวมในประกันภัยรถยนต์นะคะ จ่ายเอง!!!
- แนะนำให้ใช้เป็นถนน Ring Road หรือ Highway No. 1 เป็นถนนเส้นทางหลักวงแหวนวิ่งรอบเกาะ
- หมายเลขฉุกเฉินของไอซ์แลนด์คือ 112 โทรได้ฟรีจากโทรศัพท์ทุกเครือข่าย
5. เรื่องแลกเงินเรื่องใหญ่… ตั้งใจฟังนะ
แนะนำให้แลกเงิน EURO จากเมืองไทยแล้วไปแลกเงินสกุล (Icelandic Krona: โครนาไอซ์แลนด์) ตัวย่อ “ISK” ที่สนามบินไอซ์แลนด์ Keflavík International Airport วิธีแปลงค่าเงิน Krona เป็นเงินบาท ถ้าเอาง่ายๆ เอาเงินสกุลโครนาหารด้วย 4 ก็ตกเป็นเงินบาทค่ะ แต่จริงๆ แล้วประเทศแถบสแกนดิเนเวียนเป็นสังคมไร้เงินสด (Cashless Society) จะชำระอะไรด้วยบัตรเครดิตก็ได้ทั้งนั้น เช่น เติมน้ำมัน ค่าทางด่วน ที่พัก ซื้อของในซุปเปอร์มาร์เก็ต ขนม ไอศกรีม น้ำ กาแฟ ที่จอดรถ ดังนั้นแนะนำแลกเงินให้เพียงพอสำหรับซื้อของกระจุกกระจิก หรือเข้าห้องน้ำก็พอค่ะ

6. ที่พักเอาไงดีหล่ะ?
ที่พักส่วนใหญ่จะเหมือน Airbnb หรือ Apartment ตกแต่งตามสไตล์ IKEA เป๊ะ!! ซึ่งข้าวของเครื่องใช้จะมีให้ไม่เหมือนกันค่ะ
- ก่อนเข้าพักแนะนำให้อ่านคู่มือ และทำความเข้าใจแต่ละที่พักด้วยค่ะ เช่น ข้อห้าม ข้อควรระวัง ห้ามย่างบาร์บีคิวช่วงหน้าหนาว หรือห้ามเปิดประตูทิ้งไว้ บางที่ต้องแยกขยะตามแต่ละประเภท เช่น ขวด ขยะเปียก ขยะแห้ง บางที่จะให้นำถุงขยะในบ้านไปทิ้งถังขยะหน้าบ้านก่อน check-out ด้วยจ้า
- ถ้าเป็นที่พักนอกเมือง จะมีบริการให้จอดได้สบายๆ แต่ถ้าในเมือง Reykjavik ก็จอดรถได้ตามสองทางข้างถนน หรือที่จอดรถที่เสียเงินค่าจอดค่ะ
- มีอุปกรณ์ทำครัว เช่น เครื่องครัว, จาน, ช้อน, มีด, เตาไฟฟ้า, กาต้มน้ำร้อน, ไมโครเวฟ, เครื่องล้างจาน และ Hood ดูดควัน… เราก็เปิดครัวไทยทำอาหารทานกันเองได้เลย
- เครื่องปรุง เช่น น้ำมัน, เกลือ, พริกไทย
- อุปกรณ์ซักล้าง เช่น เครื่องซักผ้า, ราวตากผ้า และผงซักฟอก
- เครื่องทำน้ำอุ่น ฮีตเตอร์ และของใช้ในห้องน้ำ เช่น สบู่ แชมพู ไดร์เป่าผม
- เครื่องดื่ม หรือของทานเล่น เช่น กาแฟ โกโก้ ขนมเครกเกอร์
- Free Wifi ซึ่งบ้านพักบางที่ก็สัญญาณแรงดีเว่อร์ บางทีก็อาจจะเอื่อยๆหน่อย
- หลายที่นำ Sofa bed มาเป็นที่เตียงนอนเพื่อเพิ่มจำนวนคนด้วย







7. เที่ยวไอซ์แลนด์…ค่าครองชีพแพงไหม?
ถ้าทานอาหารนอกบ้าน เช่น ที่ร้านอาหาร Pakkhús Restaurant ที่ Höfn ถือว่าเป็นร้านแนะนำจาก Tripadvisor ได้ 4.5 ดาว เราเลยไปจัดล็อปสเตอร์ ซุป เสต็กเนื้อ ราคาตกมื้อละ 2,xxx- 3,xxx บาท/คน

แต่ถ้าอยากทำทานเอง ก็สามารถซื้อของได้ที่ Supermarket และ Minimart เช่น พวกอาหารสด สเต็กเนื้อ สเต็กไก่ กุ้ง ปีกไก่ ไข่ไก่ เครื่องปรุง วัตถุดิบทำอาหาร น้ำผลไม้ และน้ำดื่ม ทุกอย่างราคาไม่แพงแบบที่คิดเราไว้ในหัวเลยค่ะ ดังนั้นการทำอาหารทานเองจะทำให้ค่าใช้จ่ายถูกลงได้เยอะ เช่น ไข่ไก่ราคาฟองละ 10 บาท, น้ำอัดลมขวดละ 40 บาท, น้ำดื่มขวดละ 30 บาท โดยรวมราคาค่าครองชีพของที่นี่ถูกกว่า Copenhagen เยอะมากกก (น้ำอัดลมที่ Copenhagen ขวดละ 100 บาทจ้า)
TIp : ระหว่างทางที่ขับรถมาในช่วงกลางวัน บางทีจะหาร้านอาหารทานยากนิดหนึ่งค่ะ เพราะบางทีเป็นย่านไม่มีผู้คนเลย หมวยขอแนะนำให้แพ็คอาหารกลางวันไปทานระหว่างทานด้วยค่ะ แหมๆ ถ้ายิ่งไปจอดรถบริเวณที่วิวสวยๆ แล้วยิ่งทำให้อาหารมื้อนั้นอร่อยขึ้นเยอะค่ะ
8. หาเสบียงที่ไหนดี?
“ซุปเปอร์มาร์เก็ต” คือสวรรค์ของพวกเรา ของมีให้เลือกเยอะ ครบทุกอย่าง ราคาไม่แพง เช่น Krónan, Netto, Bónus, Kjörbúðin มีทั้งของอุปโภค บริโภค วัตถุดิบ อุปกรณ์ในการปรุงอาหาร ของฝาก ขนมขบเคี้ยวที่ทานในรถ ช็อกโกแลต น้ำผลไม้

ข้อมูลเพิ่มเติม Grocery stores in Iceland



9. ลิสต์ของที่ต้องเตรียม
- ข้าวสาร น้ำพริก ซอสปรุงรสที่ชอบ ผงปรุงรส (ผัดกระเพรา หรือผัดฉ่า) และอาหารแห้ง
- กระติกน้ำเพื่อเก็บอุณหภูมิ ปิ่นโตใส่อาหารสำหรับทำอาหารกลางวัน
- ผ้าขนหนูผืนใหญ่เผื่อเอาไว้บิดผ้าเปียก เวลาซักผ้าแล้วแห้งไม่ทัน
- ชุดว่ายน้ำ หรือกางเกงว่ายน้ำสำหรับแช่น้ำ
- ใบขับขี่ตัวจริง (เตรียมเผื่อไว้)
- อุปกรณ์-เสื้อกันหนาวจัดไปให้เต็มทั้ง หมวก ถุงมือ ถุงเท้า ผ้าพันคอ ผ้าปิดปาก แว่นตากันแดดหรือกันลม
- ยารักษาโรค วิตามินซี ยาอม ยาแก้เจ็บคอ และยาประจำตัว อากาศเปลี่ยนจะไม่สบายกันง่ายขึ้นค่ะ
- ไฟฉาย
- ถุงผ้าใส่ของใน Supermarket
- ขาตั้งกล้องที่แข็งแรง
10. ของฝาก
- ผงโกโก้ และช็อกโกแลตรสต่างๆ
- อาหารเสริมยี่ห้อ NOW ผลิตใน USA ราคาไม่แพง มีทั้งบำรุงเล็บ ผม หน้า ผิว สมองเยอะแยะไปหมด
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อร่อย เช่น เบียร์ วอดก้าท้องถิ่น
- อุปกรณ์ และเสื้อกันหนาวที่ขายทั่วประเทศ จะมี 2 ยี่ห้อ ที่เห็นบ่อยๆ คือแบรนด์ 66 และ Icewear มีของให้เลือกเยอะมาก มีทั้งแบบเสื้อกันหนาวกันลม กันฝน อุปกรณ์เดินป่า อุปกรณ์และเสื้อผ้าขน wool ราคาของสินค้าที่ Icewear จะถูกกว่ายี่ห้อ 66 ค่ะ อ้อ!! ถ้าผ่านไปเมือง Vik จะมี Icewear Outlet ขนาดใหญ่ แวะไปจัดอุปกรณ์กันหนาวก่อนไปล่าแสงเหนือนะคะ
- Nescafe Dolce Gusto Capsule ที่ Netto ราคากล่องละไม่ถึง 200 บาท แถมมีรสชาติแปลกๆ ด้วย
- แม่เหล็ก พวงกุญแจ ตุ๊กตามีทั้งนกพัฟฟินน่ารักๆ และชาวไวกิ้ง
- ก่อนกลับก็จะมาจัดต่อที่ Duty Free ในสนามบิน KEF ค่ะ ราคาของไม่แพง !!! เช่น เสื้อแจ็กเกต Superdry ไซส์ใหญ่ XL,2XL ตัวละ 2,xxx บาท, เครื่องสำอางหมวยลิปสติก YSL VOLUPTÉ LIQUID COLOUR BALM ได้ในราคา 3,499 ISK ( 875 บาท) ที่ไทยขายแท่งละพันอัพ, ลำโพง Marshall ราคาก็ดีงามน่าขนกลับจริงๆค่ะ







ขอบคุณสำหรับข้อมููลดีๆที่ให้ความรู้มากๆนะคะ เหมือนได้ไปเที่ยวเองเลย แค่อ่านข้อมูลก็อยากไปแล้ว
ด้วยความยินดีครับผม